เมนู

วรรคที่ 7


บทว่า อกฺกนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ยืนเหยียบเขียงเท้าอย่างเดียว ไม่ได้
สอดระหว่างนิ้วเท้าเข้าไปในสายเขียงเท้าคล้ายคันร่ม.
บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส คือ ผู้ยืนสวมเขียงเท้าอยู่. แม้ในรองเท้า ก็
นัยนั่นแล. ก็ในคำว่า โอมุกฺโก นี้ ตรัสเรียกบุคคลผู้ยืนสวมรองเท้าหุ้มส้น.
ในคำว่า ยานคตสฺส นี้ ถ้าแม้นว่า คนที่ถูกชน 2 คนหามไปด้วยมือประสาน
กันก็ดี คนที่เขาวางไว้บนผ้า แล้วใช้บ่าแบกไปก็ดี คนผู้นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียม
มีคานหามเป็นต้นก็ดี ผู้นั่งบนยานที่เขารื้อออกวางไว้ แม้มีแต่เพียงล้อก็ดี ย่อม
ถึงการนับว่า ผู้ไปในยาน ทั้งนั้น. แต่ถ้าคนแม้ทั้งสอง 2 ฝ่าย นั่งไปบน
ยานเดียวกัน จะแสดงธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ควรอยู่. แม้ใน 2 คนผู้นั่งแยก
กัน ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานสูง จะแสดงธรรมแก่ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานต่ำ ควร. จะ
แสดงแก่ผู้นั่ง แม้บนยานที่เสมอกัน ก็ควร. ภิกษุผู้นั่งอยู่บนยานข้างหน้า จะ
แสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหลังควร. แต่ภิกษุผู้นั่งบนยานข้างหลังแม้สูงกว่า
จะแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหน้า (ซึ่งไม่เจ็บไข้) ไม่ควร.
บทว่า สยนคตสฺส มีความว่า ภิกษุผู้ยืน หรือนั่งบนเตียงก็ดี บน
ตั่งก็ดี บนภูมิประเทศก็ดี แม้สูง จะแสดงธรรมแก่ (คนไม่เป็นไข้) ผู้นอน
อยู่ ชั้นที่สุดบนเสื่อลำแพนก็ดี บนพื้นตามปกติก็ดี ไม่ควร. แต่ภิกษุผู้อยู่
บนที่นอน จะนอนบนที่นอนสูงกว่า หรือมีประมาณเสมอกัน แสดงธรรมแก่
ผู้ไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน ควรอยู่. ภิกษุผู้นอนจะแสดงธรรมแก่คนผู้ไม่เป็น
ไข้ ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ควรอยู่. แม้ภิกษุนั่งจะแสดงธรรมแก่คนผู้ยืน หรือ
ว่านั่ง ก็ควร. ภิกษุยืน จะแสดงธรรมแก่ผู้ยืนเหมือนกัน ก็ได้.

บทว่า ปลฺลตฺถิกาย มีความว่า อันภิกษุจะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้
นั่งรัดเข่าอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเครื่องรัดเข่าคือสายโยกก็ตาม เครื่องรัดเข่า
คือมือก็ตาม เครื่องรัดเข่าคือผ้าก็ตามไม่ควร.
บทว่า เวฏฺฐิตสีสสฺส มีความว่า แก่ผู้โพกศีรษะด้วยผ้าสำหรับโพก
หรือด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น มิดจนริมผมไม่ปรากฎให้เห็น.
บทว่า โอคุณฺฐิตสีสสฺส คือ ผู้ห่มคลุมทั้งศีรษะ.
สองบทว่า ฉมายํ นิสินฺเนน คือ ผู้นั่งบนพื้นดิน.
สองบทว่า อาสเน นิสินฺนสฺส คือ ชั้นที่สุด ได้แก่ผู้ปูผ้า หรือ
หญ้านั่ง .
บทว่า ฉวกสฺส ได้แก่ คนจัณฑาล.
บทว่า ฉวกา ได้แก่ หญิงจัณฑาล.
บทว่า นิลีโน คือเป็นผู้หลบซ่อนอยู่.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย หิ นาม แปลว่า บุคคลใดเล่า
ข้อว่า สพฺพมิทํ จ ปริคตนฺติ ตตฺเถว ปริปติ มีความว่า คน
จัณฑาลนั้นกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งหมด ถึงความยุ่งเหยิงไม่มีเขตแดน
แล้วไต่ลงมาจากต้นไม้ ในระหว่างชนทั้ง 2 นั้น ในที่นั้นนั่นเทียว. ก็แล
ครั้นไต่ลงมาแล้ว ยืนอยู่ข้างหน้าแห่งชนแม้ทั้ง 2 แล้วกล่าวคาถานี้ว่า อุโภ
อตฺถํ น ชานนฺติ ฯ เป ฯ อสฺมา กุมภมิวากิทา
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า อุโภ ยตฺถํ น ชานนฺติ ความว่า
ชนแม้ทั้ง 2 ย่อมไม่รู้อรรถแห่งบาลี
ข้อว่า ธมฺมํ น ปสฺสเร ความว่า ชนทั้ง 2 ย่อมไม่เห็นบาลี.
ถามว่า ชนทั้ง 2 นั้นเหล่าไหน ?.

แก้ว่า ชนทั้ง 2 คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม
และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม. อธิบายว่า คน
จัณฑาลตั้งคนทั้ง 2 คือ พราหมณ์และพระเจ้าแผ่นดินไว้ในความเป็นผู้ไม่
ประพฤติธรรม.
ต่อจากนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวคาถาว่า สาลีนํ เป็นต้น. คาถานั้น
มีใจความว่า พ่อมหาจำเริญ ! เราก็รู้อยู่ว่า นี้ไม่เป็นธรรม, อนึ่งแล เรากับ
บุตรภรรยาและบริวารชน บริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเป็นของในหลวงมา
นานแล้ว.
บาทคาถาว่า สุจิมํสูปเสจโน มีวิเคราะห์ว่า การผสมด้วยแกงเนื้อ
อันสะอาดที่เขาปรุงด้วยชนิดแห่งเครื่องปรุงมีประการต่าง ๆ คือ การทำให้
ระคนกับอามิส มีอยู่แก่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีนั้น; เหตุนั้น ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี
นั้นจึงชื่อว่า ผสมกับแกงเนื้ออันสะอาด.
บาทคาถาว่า ตสฺมา ธมฺเม น วตฺตามิ มีความว่า เพราะเรา
บริโภคข้าวสุกของในหลวง และได้รับพระราชทานลาภอื่น ๆ เป็นอันมาก
อย่างนี้; ฉะนั้น เราจึงไม่ประพฤติอยู่ในธรรม เป็นผู้ติดอยู่ในท้อง (เห็น
แก่ท้อง) ไม่ใช่ไม่รู้ธรรม เรารู้อยู่ว่า ความจริงธรรมนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ยกย่องสรรเสริญ ชมเชย.
ลำดับนั้น คนจัณฑาลนั้น จึงกล่าวย้ำกะพราหมณ์นั้น ด้วย 2 คาถา
ว่า ธิรตฺถุ เป็นต้น. 2 คาถานั้นมีใจความว่า ลาภคือทรัพย์ และลาภคือยศ
อันใดที่ท่านได้แล้ว, เราติเตียนลาภ คือทรัพย์และลาภคือ ยศอันนั้น ท่าน
พราหมณ์ !. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะลาภที่ท่านได้นี้ เป็นเหตุให้ประจวบ
กับเหตุอันให้ตกไปในพวกอุบายต่อไป และชื่อว่าเป็นการดำเนินชีวิตโดย
ประพฤติไม่เป็นธรรม. ก็การดำเนินชีวิตมีรูปเห็นปานนี้อันใด จะสำเร็จได้

โดยเป็นเหตุให้ตกต่ำต่อไป หรือโดยเป็นเหตุให้พระพฤติไม่เป็นธรรมในโลกนี้,
จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการดำเนินชีวิตนั้น. ด้วยเหตุนั้น คนจัณฑาลนั้น
จึงได้กล่าวว่า
ท่านพราหมณ์ ! เราติเตียนการได้
ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการ
เลี้ยงชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำ และเป็น
การเลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบธรรม.

บาทคาถาว่า ปริพฺพช มหาพฺรเหฺม มีความว่า ข้าแต่ท่าน
มหาพราหมณ์ ! ท่านจงรีบออกไปเสียจากประเทศนี้.
บาทคาถาว่า ปจนฺตญฺเญปิ ปาณิโน มีความว่า สัตว์แม้เหล่าอื่น
ก็ยังหุงต้ม และยังบริโภค (ยังหุงหากิน), มิใช่แต่ท่านกับพระราชาเท่านั้น .
กึ่งคาถาว่า มา ตํ อธมฺโม อาจริโต อสฺมา กุมฺภมิวาภิทา
มีความว่า เพราะถ้าว่า ท่านไม่หลีกหนีไปจากที่นี้ จักประพฤติอธรรมนี้ยิ่งขึ้น.
แต่นั้น อธรรมที่ท่านประพฤติยิ่งขึ้นนั้น จะทำลายท่านเองเหมือนก้อนหิน
ทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ! ท่านจงรีบ
ออกไปเถิด, แม้สัตว์ที่มีชีวิตเหล่าอื่นก็ยังหุง
ต้มกินอยู่, ความอธรรมที่ท่านได้ประพฤติ
มาแล้ว อย่าได้ทำลายท่าน ดุจก้อนหิน
ทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น.

สองบทว่า อุจฺเจ อาสเน มีความว่า จะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้
ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะ ชั้นที่สุด แม้บนภูมิประเทศที่สูงกว่า ก็ไม่ควร.

สองบทว่า น ฐิเตน นิสินฺนสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า พระ-
มหาเถระนั่งบนอาสนะ ถามปัญหากะภิกษุหนุ่มผู้มายังที่บำรุงของพระเถระแล้ว
ยืนอยู่, เธอไม่ควรกล่าว. แต่ด้วยความเคารพ เธอก็ไม่อาจกล่าวกะพระเถระ
ว่า นิมนต์ท่านลุกขึ้นถามเถิด. จะกล่าวด้วยตั้งใจว่า เราจักกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืน
อยู่ข้าง ๆ ควรอยู่.
ในคำว่า น ปจฺฉโต คจฺฉนฺเตน นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าคนผู้เดิน
ไปข้างหน้า ถามปัญหากะภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง, เธอไม่ควรตอบ. จะกล่าว
ด้วยใส่ใจว่า เราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้อยู่ข้างหลัง สมควร. จะสาธยายธรรมที่ตน
เรียนร่วมกัน ควรอยู่. จะกล่าวแก่บุคคลผู้เดินคู่เตียงกันไป ก็ควร.
แม้ในคำว่า น อุปเถน นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า แม้ชนทั้ง 2 เดินคู่เตียง
กันไปในทางเกวียนตามทางล้อเกวียนคนละข้าง หรือออกนอกทางไป, จะกล่าว
ก็ควร.
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกำลังไปยังที่กำบังอุจจาระ หรือ
ปัสสาวะพลันเล็ดออก (พลันทะลักออกมา) ชื่อว่า ไม่แกล้งถ่าย ไม่เป็นอาบัติ.
ในคำว่า น หริเต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- แม้รากของต้นไม้ที่ยังเป็น
ชอนไปบนพื้นดินปรากฏให้เห็นก็ดี กิ่งไม้ที่เลื้อยระไปบนพื้นดินก็ดี ทั้งหมด
เรียกว่า ของสดเขียวทั้งนั้น. ภิกษุจะนั่งบนขอนไม้ถ่ายให้ตกลงไปในที่ปราศจาก
ของเขียวสด ควรอยู่. เมื่อยังกำลังมองหาที่ปราศจากของสดเขียวอยู่นั่นแหละ
อุจจาระหรือปัสสาวะพลันทะลักออกมา จัดว่าตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้อาพาธ ควรอยู่.
สองบทว่า อปหริเต กโต มีความว่า เมื่อภิกษุไม่ได้ที่ปราศจาก
ของสดเขียว แม้วางเทริดหญ้า หรือเทริดฟางไว้แล้ว ทำการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะทับของเขียวในภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี
ว่า ถึงแม้น้ำมูก ก็สงเคราะห์เข้ากับน้ำลายในสิกขาบทนี้.

คำว่า น อุทเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำบริโภค
เท่านั้น. แต่ในน้ำที่วัจจกุฎีและในน้ำทะเลเป็นต้น ไม่ใช่ของบริโภค ไม่เป็น
อาบัติ. เมื่อฝนตก ห้วงน้ำมีอยู่ทั่วไป. เมื่อภิกษุกำลังมองหาที่ไม่มีน้ำอยู่
นั่นแหละ อุจจาระหรือปัสสาวะเล็ดออกมา ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรี ท่าน
กล่าวว่า ในเวลาเช่นนั้น ภิกษุไม่ได้ที่ไม่มีน้ำ จะทำการถ่าย ควรอยู่. คำที่
เหลือในสิกขาบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
วรรคที่ 7 จบ

ปกิณกะในเสขิยวรรณนา


ก็เพื่อต้องการแสดงสมุฏฐานเป็นต้นในอธิการแห่งเสขิยวรรณนานี้ จึง
มีข้อเบ็ดเตล็ดดังต่อไปนี้:- สิกขาบท 10 เหล่านี้ คือ 4 สิกขาบท ที่เกี่ยว
ด้วยการหัวเราะ และเสียงดัง สิกขาบทที่พูดทั้งปากยังมีคำข้าว 1, 5 สิกขาบท
ที่เกี่ยวด้วยการนั่งบนพื้น 1 ที่นั่งต่ำ 1 การยืนแสดงธรรม 1 การเดินไป
ข้างหลัง 1 การเดินไปนอกทาง 1 มีสมุฎฐานดุจสมนุภาสนสิกขาบท เกิดขึ้น
ทางกายวาจาและจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
สูโปทนวิญญัตติสิกขาบท มีสมุฎฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้น
ทางกายกับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วีจกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนาแล.
11 สิกขาบท ที่มีชื่อว่า ฉัตตปาณิสิกขาบท 1 ทัณฑปาณิสิกขาบท 1
สัตถปาณิสิกขาบท 1 อาวุธปาณิสิกขาบท 1 ปาทุกสิกขาบท 1 อุปาหน-
สิกขาบท 1 ยานสิกขาบท 1 สยนสิกขาบท 1 ปัลลัตถิกสิกขาบท 1 เวฐิต
สิกขาบท 1 โอคุณฐิตสิกขาบท 1 มีสมุฎฐานดุจธรรมเทสนาสิกขาบท เกิดขึ้น
ทางวาจากับจิต เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล. ที่เหลืออีก 53 สิกขาบท มีสมุฏฐาน
ดุจปฐมปาราชิกแล.
ในเสขิยสิกขาบททั้งหมด ไม่เป็นอาบัติ เพราะอาพาธเป็นปัจจัย. ใน
3 สิกขาบท คือ ถูปีกตปิณฑปาตสิกขาบท 1 สูปพยัญชนปฏิจฉาทนสิกขาบท 1
อุชฌานสัญญีสิกขาบท 1 ไม่มี (กล่าวถึง ) ภิกษุอาพาธแล.
เสขิยวรรณนา จบ